You are currently viewing รองอธิบดีฯ สุนทร ร่วมโต๊ะรับฟัง “การจัดการยางรถยนต์ที่หมดสภาพการใช้งาน” สานต่อมาตรการบำบัด/กำจัดอย่างถูกต้อง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

วันที่ 13 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 น. นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และนางสาวจิตติยา ชูทอง ผู้อำนวยการกลุ่มจัดการกากอุตสาหกรรม 3 กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษา “โครงการวิจัยการจัดการยางรถยนต์ที่หมดสภาพการใช้งาน (End-of-Life Tyre: ELT) ของประเทศไทย” เพื่อเป็นแนวทางการจัดการ ELT ที่ต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดอย่างถูกต้อง ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมี นายโทรุ นากามุระ นายกสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ไทย กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ณ โรงแรมสยาม แอท สยาม ดีไซน์ โฮเทล กรุงเทพฯ

นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

การประชุมในครั้งนี้จัดโดย สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ไทย เป็นการรับฟังผลการศึกษาของโครงการฯ ทั้งในส่วนข้อมูลสถานการณ์ในเชิงปริมาณและการจัดการ ELT ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ช่องว่างทางกฎหมาย วิธีการจัดการ ELT ของประเทศไทยในปัจจุบัน และประสบการณ์การจัดการ ELT ในต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการจัดการ ELT ในกลุ่มยางรถยนต์และยางรถบรรทุก ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้แก่ ยางสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยางสำหรับรถบรรทุกขนาดเล็กเชิงพาณิชย์ และยางสำหรับรถบรรทุกและรถโดยสาร

นางสาวจิตติยา ชูทอง ผู้อำนวยการกลุ่มจัดการกากอุตสาหกรรม 3 กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม
นางสาวจิตติยา ชูทอง ผู้อำนวยการกลุ่มจัดการกากอุตสาหกรรม 3 กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมระดมความคิดเห็นจากผู้แทนทุกภาคส่วน ต่อแนวทางการจัดการ ELT ด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการการจัดการ ELT อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนผลักดันให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมยางรถยนต์ไทย ร่วมจัดการ ELT อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค

ที่ประชุมได้ร่วมระดมความคิดเห็นจากผู้แทนทุกภาคส่วน ต่อแนวทางการจัดการ ELT ด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของประเทศไทย
ที่ประชุมได้ร่วมระดมความคิดเห็นจากผู้แทนทุกภาคส่วน ต่อแนวทางการจัดการ ELT ด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยางรถยนต์เพื่อการส่งออกลำดับที่ 2 ของโลก มีอัตราการเติบโตของการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งอุตสาหกรรมผลิตยางก็เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ภายในประเทศที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย จากการคาดการณ์พบว่า ELT ในประเทศไทยยังไม่สร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และภาครัฐยังไม่มีการออกกฎหมายการจัดการ ELT โดยตรง แต่ ELT ที่ไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้องก่อให้เกิดการตกค้างค่อนข้างมาก การบำบัด/กำจัดอย่างถูกต้องจึงเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาวด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)

ผลักดันให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมยางรถยนต์ไทย ร่วมจัดการ ELT อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค
ผลักดันให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมยางรถยนต์ไทย ร่วมจัดการ ELT อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค
ร่วมระดมความคิดเห็นจากผู้แทนทุกภาคส่วน
ร่วมระดมความคิดเห็นจากผู้แทนทุกภาคส่วน
การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษา “โครงการวิจัยการจัดการยางรถยนต์ที่หมดสภาพการใช้งาน (End-of-Life Tyre: ELT) ของประเทศไทย
การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษา “โครงการวิจัยการจัดการยางรถยนต์ที่หมดสภาพการใช้งาน (End-of-Life Tyre: ELT) ของประเทศไทย

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม #saveอุตสาหกรรมไทย #saveสิ่งแวดล้อม #รับฟังความคิดเห็น #โครงการวิจัย #การจัดการยางรถยนต์ที่หมดสภาพการใช้งาน #EndofLifeTyre #ELT #สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #สมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ไทย