You are currently viewing กรมโรงงานฯ ประชุมคณะทำงาน TWG ครั้งที่ 4-3/2567 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว

วันที่ 25 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น. นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะรองประธานคณะทำงานด้านเทคนิคสำหรับส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว (Technical Working Group: TWG) เป็นประธานการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 4-3/2567 เพื่อดำเนินงานโครงการ “การประยุกต์ใช้หลักการเอื้อประโยชน์ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชน และการใช้สารเคมีอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่มุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเลิกใช้สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน” โดยมี นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ดร.อุมา วิรัตน์สกุลชัย ผู้ประสานงานโครงการ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization: UNIDO) ผศ.ดร.ศุภพัชรี รอดเดชา อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย และอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 503 ชั้น 5 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมด้วย กรมควบคุมมลพิษ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (MS Team)

นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะรองประธานคณะทำงานด้านเทคนิคสำหรับส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว
นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะรองประธานคณะทำงานด้านเทคนิคสำหรับส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว

การประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมรับทราบรายงานความก้าวหน้าและพิจารณาการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้คณะทำงานด้านเทคนิคฯ ดังนี้

(1) โครงการการศึกษาและจัดทำเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย (End-of-Waste: EoW) สำหรับแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศสอ.) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2566 – 21 ธันวาคม 2567 ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กลไกของประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความคลายคลึงกับเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสียของต่างประเทศ ซึ่งพบว่าสามารถนำไปใช้ผลิตเป็นผนังสำเร็จรูปได้ โดยได้นำเสนอในงานสถาปนิก แต่ยังคงต้องมีการปรับเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเหมาะสมที่สุดในการสนับสนุนให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของเสียและเกิดการหมุนเวียนวัสดุมากขึ้น และขยายไปสู่ของเสียประเภทอื่น คาดว่ารายงานฉบับสมบูรณ์โครงการฯ จะแล้วเสร็จภายในช่วงต้นปี 2568

โครงการการศึกษาและจัดทำเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย (End-of-Waste: EoW) สำหรับแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศสอ.)
โครงการการศึกษาและจัดทำเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย (End-of-Waste: EoW) สำหรับแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศสอ.)

(2) โครงการการศึกษาและจัดทำเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย (End-of-Waste: EoW) สำหรับเถ้าแกลบและการสาธิตกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์จากเถ้าแกลบ โดยมี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2567 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสียสำหรับเถ้าแกลบสำหรับการผลิตโซเดียมซิลิเกตและโปตัสเซียมซิลิเกต ทั้งนี้ MTEC ได้ขอขยายระยะเวลาการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและสมบูรณ์มากที่สุดสำหรับการนำมาใช้ในการจัดทำเกณฑ์และวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน นําไปสู่การประยุกต์ใช้งานได้จริงได้ดียิ่งขึ้น

โครงการการศึกษาและจัดทำเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย (End-of-Waste: EoW) สำหรับเถ้าแกลบและการสาธิตกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์จากเถ้าแกลบ โดยมี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
โครงการการศึกษาและจัดทำเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย (End-of-Waste: EoW) สำหรับเถ้าแกลบและการสาธิตกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์จากเถ้าแกลบ โดยมี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

(3) โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อสนับสนุนและติดตามการดำเนินการตามการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการผลิตที่สะอาด (Resource Efficient and Cleaner Production: RECP) และการลดก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมไทย โดยมี บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จํากัด (UAE) ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 – 1 กรกฎาคม 2568 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบแพลตฟอร์มอุตสาหกรรมสีเขียว ก่อนจะจัดการสาธิตแพลตฟอร์มให้กลุ่มโรงงานเป้าหมายได้ทดสอบการใช้งานในช่วงเดือนมกราคม 2568 และนําข้อบกพร่องที่ค้นพบไปปรับปรุงพัฒนาก่อนการใช้เปิดงานจริง

นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน
นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน
นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ดร.อุมา วิรัตน์สกุลชัย ผู้ประสานงานโครงการ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization: UNIDO)
ดร.อุมา วิรัตน์สกุลชัย ผู้ประสานงานโครงการ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization: UNIDO)

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม #saveอุตสาหกรรมไทย #saveสิ่งแวดล้อม #กากอุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมสีเขียว #สิ้นสุดการเป็นของเสีย #แม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ #เถ้าแกลบ #วัสดุหมุนเวียน #UNIDO #ศสอ #MTEC #UAE #ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน #TWG #แพลตฟอร์ม #โซเดียมซิลิเกต