You are currently viewing กรมโรงงานฯ ร่วมกับ UNIDO ผลักดันการสิ้นสุดความเป็นของเสีย “ปูนปลาสเตอร์” และ “เถ้าแกลบ” ส่งเสริมการเอื้อประโยชน์ร่วมกันในภาคอุตสาหกรรม

วันที่ 17 ธันวาคม 2567 เวลา 09.30 น. นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะรองประธานคณะทำงานด้านเทคนิคสำหรับส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ TWG (Technical Working Group) เป็นประธานเปิดงานสัมมนาปิดโครงการ “การพัฒนาเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย (End-of-Waste; E-o-W) กรณีศึกษาการผลิตผนังยิปซัมจากแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว และการผลิตสารละลายไบโอโซเดียมซิลิเกตและไบโอโพแทสเซียมซิลิเกตอย่างยั่งยืนจากเถ้าแกลบ” เพื่อเผยแพร่ผลจากการศึกษาวิจัยที่ได้ดำเนินการ ตลอดระยะเวลา 1 ปี โดยมี นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการฯ พร้อมด้วย นายจุลพงษ์ ทวีศรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรรม นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ นายเอกบุตร อุตมพงศ์ รักษาการนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ กองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ดร.อุมา วิรัตน์สกุลชัย ผู้ประสานงานโครงการจากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO: United Nations Industrial Development Organization) ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและวิจัย และภาคอุตสาหกรรม เข้าร่วมสัมมนา ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ

งานสัมมนาปิดโครงการ “การพัฒนาเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย (End-of-Waste; E-o-W) กรณีศึกษาการผลิตผนังยิปซัมจากแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว และการผลิตสารละลายไบโอโซเดียมซิลิเกตและไบโอโพแทสเซียมซิลิเกตอย่างยั่งยืนจากเถ้าแกลบ”
งานสัมมนาปิดโครงการ “การพัฒนาเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย (End-of-Waste; E-o-W) กรณีศึกษาการผลิตผนังยิปซัมจากแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว และการผลิตสารละลายไบโอโซเดียมซิลิเกตและไบโอโพแทสเซียมซิลิเกตอย่างยั่งยืนจากเถ้าแกลบ”

กรมโรงงานอุตสาหกรรมดำเนินการศึกษาการพัฒนาเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย เพื่อเพิ่มมูลค่ากากอุตสาหกรรมให้เป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยศึกษานำร่องกากอุตสาหกรรม จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ 1) แบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ 2) เถ้าแกลบ 3) ก้างปลาทูน่า และ 4) ยิปซัมสังเคราะห์ ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ ได้มอบหมายให้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิจัยแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์นำไปผลิตแผ่นยิปซัม (Gypsum Wall) สำหรับใช้ในงานก่อสร้าง และศูนย์เทคโทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ศึกษาวิจัยเถ้าแกลบนำไปผลิตเซรามิกโบนไชน่า (Bone China) เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่ากากอุตสาหกรรม หมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดการสิ้นสุดความเป็นของเสีย นำไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนแบบครบวงจร ที่มีการบริหารจัดการตั้งแต่วัตถุดิบต้นทาง กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมถึงการคำนวณค่าการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ความเป็นไปได้ในเชิงเทคนิค การลงทุน และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ใช้งานในการตัดสินใจเลือกใช้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์จากของเสีย ทั้งนี้ ข้อกำหนดและเงื่อนไขของเกณฑ์การสิ้นสุดความเป็นของเสีย ประกอบด้วย 4 เงื่อนไขหลัก ดังนี้

(1) วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้ต้องมีวัตถุประสงค์การใช้งานเฉพาะ

(2) วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้ต้องเป็นที่ต้องการของตลาด มีตลาดรองรับหรือความต้องการใช้งานที่ชัดเจน

(3) การใช้งานจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ข้อกำหนด และมาตรฐาน

(4) การนำไปใช้งานต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในภาพรวม

ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและวิจัย และภาคอุตสาหกรรม เข้าร่วมสัมมนา
ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและวิจัย และภาคอุตสาหกรรม เข้าร่วมสัมมนา

พร้อมกันนี้ ได้จัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ “ถอดบทเรียน (Lesson Learned) จากการจัดทำ (ร่าง) เกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสียนำร่อง และการดำเนินนโยบายสำหรับกากอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในอนาคต” เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้แทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลายมุมมอง ต่อการพัฒนาเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสียในประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังจากนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมจะสังเคราะห์ผลการศึกษา ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาปรับใช้สำหรับการจัดทำหลักเกณฑ์เชิงนโยบายที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติงานและบริบทของประเทศไทย

นายจุลพงษ์ ทวีศรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรรม
นายจุลพงษ์ ทวีศรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรรม
นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานสัมมนาปิดโครงการฯ และนางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการฯ
นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานสัมมนาปิดโครงการฯ และนางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการฯ
นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ศึกษานำร่องกากอุตสาหกรรมเถ้าแกลบ
ศึกษานำร่องกากอุตสาหกรรมเถ้าแกลบ
ศึกษานำร่องกากอุตสาหกรรม แบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์
ศึกษานำร่องกากอุตสาหกรรม แบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม #saveอุตสาหกรรมไทย #saveสิ่งแวดล้อม #อบรม #สัมมนา #งานวิจัย #กากอุตสาหกรรม #waste #วัสดุหมุนเวียน #UNIDO #ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน #TWG #ปูนปลาสเตอร์ #แผ่นยิปซัม #เถ้าแกลบ #EndofWaste