วันที่ 6 ธันวาคม 2567 นายธีรทัศน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ และโครงการตามมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย ณ บริษัท จีจีซี เคทิส เคทิส ไบโออินดัสเทรียล จำกัด จังหวัดนครสวรรค์ โดยมี นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมลงพื้นที่ และมี นางสาวชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ นายณะรงศักดิ์ จิวากานันต์ ผู้บริหารระดับสูง บริษัท พีพีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (จีซี) นายกัมพล ชัยกิจโกสีย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท จีจีซี เคทิส ไบโออินดัสเทรียล จำกัด ให้การต้อนรับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตามนโยบายภาครัฐได้ส่งเสริมมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย และโมโดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่มีเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 โดยบริษัท จีจีซี เคทิส ไบโออินดัสเทรียล จำกัด ได้ดำเนินโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ในพื้นที่อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
-
- โครงการระยะที่ 1 ได้เริ่มดำเนินการในปี 2567 มีวัตถุดิบหลัก คือ อ้อย ผลิตภัณฑ์หลัก คือ เอทานอลและพลังงานชีวมวล
- โครงการระยะที่ 2 เป็นการลงทุนระบบสาธารณูปโภคเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเนื่องชีวภาพ
ปัจจุบันมีบริษัท Natureworks จากสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพคาร์บอนต่ำ (Polylactic acid : PLA) รายใหญ่ของโลก ได้ใช้น้ำตาลทรายดิบเป็นวัตถุดิบจากนอกพื้นที่โครงการฯ โดยระยะที่ 1 ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบอยู่แล้ว หากสามารถปรับปรุงโรงงานให้ผลิตน้ำตาลทรายดิบเพื่อใช้ในพื้นที่โครงการ จะส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการวางแนวทางก่อสร้างและทดลองเดินเครื่องจักร คาดจะเริ่มได้ในปี 2568 พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการต่อยอดเอทานอลไปสู่พลาสติกชีวภาพอากาศยานรวมกับพันธมิตรทางธุรกิจ
ทั้งนี้ ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน (Bio Hub of ASEAN) ภายในปี 2570 ตามมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย คาดจะเกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพในประเทศกว่า 190,000 ล้านบาท เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 85,000 บาทต่อคนต่อปี มีการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรกว่า 800,000 ครัวเรือน และมีการผลิตและจ้างแรงงานที่มีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญสูงกว่า 20,000 ตำแหน่ง
#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม #saveอุตสาหกรรมไทย #saveสิ่งแวดล้อม #เอกนัฏ #รมวขิง #รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม #นครสวรรค์ #อุตสาหกรรมชีวภาพ #อุตสาหกรรมชีวภาพอาเซียน #BioHubofASEAN