วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ได้รับเกียรติจาก นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ จำนวน 51 คน พร้อมกล่าวแสดงความยินดีและให้โอวาทสำหรับการนำความรู้เชิงลึกที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการกำกับโรงงานให้ปฏิบัติตามรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน และการพิจารณารายงานประเมินความเสี่ยงให้สอดคล้องกับกฎหมายโรงงาน รวมทั้งประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เสริมสร้างความก้าวหน้าให้แก่องค์กร และมีส่วนช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมตามนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ผ่านการทำงานด้วย “หัว และ ใจ” ต่อไป


กรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดโครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการศึกษากระบวนการผลิตในโรงงานเรื่อง “การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมตามลักษณะการประกอบกิจการหรือลักษณะความเสี่ยง” ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมโรงงานอุตสาหกรรมสู่ความเป็นมืออาชีพ ระหว่างวันที่ 27 – 28 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ

การฝึกอบรม 2 วัน ประกอบด้วย กิจกรรมการบรรยาย และการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ (Work Shop) ดังนี้
1. กฎหมายการประเมินความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงานประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2566 ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน” และ “องค์ประกอบของรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน”
2. เครื่องมือการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน โดยวิธี WHAT-IF analysis และ วิธี Checklist
3. เครื่องมือการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน โดยวิธี Hazard And Operability Study (HAZOP) และวิธี Failure Modes and Effects Analysis (FMEA)”
4. เครื่องมือการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน โดยวิธี Fault Tree Analysis (FTA) และวิธี Event – Tree Analysis

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรอ #กระทรวงอุตสาหกรรม #DIW #MIND #SAVEอุตสาหกรรมไทย #อบรมเชิงปฏิบัติการ # Up Skill