You are currently viewing กรมโรงงานฯ นำทีมตรวจโรงงานต้องสงสัย พื้นที่โคกสำโรง ลพบุรี พบลักลอบฝังกลบกากตะกรันจากการหลอมและกากตะกรันอะลูมิเนียม

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมาย นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบการประกอบกิจการโรงงาน ในพื้นที่ ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ตามหมายค้นของศาลจังหวัดลพบุรีโดยเร่งด่วน เพื่อตรวจสอบว่าโรงงานดังกล่าวดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้รับอนุญาต และมีการจัดการกากของเสียถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรี (สอจ.ลบ.) ศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษภาคตะวันออก (ศวภ.ตอ.) กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 7  ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.)  ร่วมตรวจสอบโรงงานดังกล่าว

นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม
นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม
นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม

ผลการตรวจสอบพบว่า

  1. มีการประกอบกิจการหลอมตะกรันสังกะสี ซึ่ง สอจ.ลบ. จะทำการตรวจสอบอีกครั้งว่าได้แจ้งประกอบถูกต้องและเป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ หากไม่ถูกต้องจะดำเนินการออกคำสั่งทางปกครองให้ดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป
  2. ไม่สามารถชี้แจงที่มาของวัตถุดิบภายในโรงงานได้ ทั้งนี้ได้พบบัญชีการรับวัตถุดิบและหมายเลขตู้สินค้าที่รับเข้ามาในโรงงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กกอ.กรอ.) จะประสานกับกรมศุลกากรเพื่อตรวจสอบต่อไป
  3. ไม่พบการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกโรงงาน
  4. พบระดับพื้นที่ภายในบริเวณโรงงานสูงผิดปกติ จึงได้ทำการขุดตรวจสอบ พบการฝังกลบกากตะกรันจากการหลอมและกากตะกรันอะลูมิเนียม ซึ่งเป็นความผิดฐานตั้งและประกอบโรงงานฝังกลบโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง อันมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 12 วรรคสอง อันมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงเป็นความผิดฐานครอบครองวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง อันมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  5. พบการกองวัตถุดิบและกากเหลือจากการหลอมบนพื้นดิน โดยไม่มีมาตรการป้องกันการรั่วไหลและปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม เป็นการผ่าฝืนกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 8(5) อันมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  6. ไม่พบรายงานการตรวจสอบคุณภาพอากาศที่ระบายออกจากระบบบำบัดมลพิษอากาศ ทั้งนี้ ระบบขจัดมลพิษทางอากาศต้องมีวิศวกรประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ระดับสามัญวิศวกร รับรองการออกแบบและประสิทธิภาพของระบบ ซึ่ง สอจ.ลบ. จะตรวจสอบต่อไปว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่กองวิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กวภ.กรอ.) ได้ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ระบายออกจากปล่อง เพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
  7. การรายงานข้อมูลการรับสิ่งปฏิกูลและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาเป็นวัตถุดิบ ไม่สอดคล้องกับปริมาณวัตถุดิบที่ปรากฏภายในโรงงาน สันนิษฐานว่าอาจเป็นการรายงานข้อมูลเท็จ รวมถึงนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์
  8. ไม่พบรายงานการตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดินตามกฎกระทรวง ควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน พ.ศ. 2559 เป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 8(5) อันมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท และการฝ่าฝืนกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 8(7) อันมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  9. พบความบกพร่องในส่วนของมาตรการป้องกันความปลอดภัยและอุปกรณ์ระงับอัคคีภัย เป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 8(4) อันมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท

กรมโรงงานฯ นำทีมตรวจโรงงานต้องสงสัย พื้นที่โคกสำโรง ลพบุรี พบลักลอบฝังกลบกากตะกรันจากการหลอมและกากตะกรันอะลูมิเนียม
กรมโรงงานฯ นำทีมตรวจโรงงานต้องสงสัย พื้นที่โคกสำโรง ลพบุรี พบลักลอบฝังกลบกากตะกรันจากการหลอมและกากตะกรันอะลูมิเนียม
กรมโรงงานฯ นำทีมตรวจโรงงานต้องสงสัย พื้นที่โคกสำโรง ลพบุรี พบลักลอบฝังกลบกากตะกรันจากการหลอมและกากตะกรันอะลูมิเนียม
กรมโรงงานฯ นำทีมตรวจโรงงานต้องสงสัย พื้นที่โคกสำโรง ลพบุรี พบลักลอบฝังกลบกากตะกรันจากการหลอมและกากตะกรันอะลูมิเนียม
กรมโรงงานฯ นำทีมตรวจโรงงานต้องสงสัย พื้นที่โคกสำโรง ลพบุรี พบลักลอบฝังกลบกากตะกรันจากการหลอมและกากตะกรันอะลูมิเนียม
กรมโรงงานฯ นำทีมตรวจโรงงานต้องสงสัย พื้นที่โคกสำโรง ลพบุรี พบลักลอบฝังกลบกากตะกรันจากการหลอมและกากตะกรันอะลูมิเนียม

ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 35 (3) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และมาตรา 54 (3) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 อายัดวัตถุอันตรายและเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการตรวจสอบและพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย จากนั้น ได้เดินทางไปลงบันทึกประจำวัน ณ สถานีตำรวจภูธรเพนียด เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่อไป

ลงบันทึกประจำวัน ณ สถานีตำรวจภูธรเพนียด เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดี
ลงบันทึกประจำวัน ณ สถานีตำรวจภูธรเพนียด เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดี
กรมโรงงานฯ นำทีมตรวจโรงงานต้องสงสัย พื้นที่โคกสำโรง ลพบุรี พบลักลอบฝังกลบกากตะกรันจากการหลอมและกากตะกรันอะลูมิเนียม
กรมโรงงานฯ นำทีมตรวจโรงงานต้องสงสัย พื้นที่โคกสำโรง ลพบุรี พบลักลอบฝังกลบกากตะกรันจากการหลอมและกากตะกรันอะลูมิเนียม

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #กระทรวงอุตสาหกรรม #DIW #MIND #SAVEอุตสาหกรรมไทย #ลพบุรี #โคกสำโรง #ฝังกลบ #กากอุตสาหกรรม