You are currently viewing กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด
กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 กรมโรงงานฯ ขานรับนโยบาย มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา (สอจ.ฉะเชิงเทรา) เข้าตรวจสอบด่วน โรงงานในตำบลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบกิจการคัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตราย ถอดแยกและบดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตเม็ดพลาสติก จำนวน 3 เลขทะเบียนโรงงาน พบการรถบรรทุกนำเข้าสินค้ากว่า 40 ตู้ จอดเรียงรายรอเข้าโรงงาน จึงได้เข้าตรวจสอบการประกอบกิจการและตู้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศดังกล่าว พบข้อเท็จจริงว่า มีการร่อนแยกเศษโลหะ ที่มีเศษยางและวัสดุอื่นปะปนมา และตรวจพบการบดย่อย ร่อนแยกแผ่นทองแดงเคลือบแกรไฟต์ โดยต้องสงสัยว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 อาจเข้าข่ายความผิดตาม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง อันมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 54(3) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ยึดวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ปริมาณรวม 5,000 ลูกบาศก์เมตร และเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตไว้ตรวจสอบและพิสูจน์ข้อเท็จจริงในการดำเนินคดีต่อไป

กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด
กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด
กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด
กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด
กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด
กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด
กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด
กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด

โดยคณะเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบรายละเอียด ดังนี้

  1. ขณะตรวจสอบพบการขนส่งวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถบรรทุกผ่านเขตปลอดอากรของบริษัท
  2. พบการประกอบกิจการ บดย่อย ร่อนแยกเศษโลหะประเภทอลูมิเนียมที่มีเศษยางและวัสดุอื่นปะปนมา โดยวัตถุดิบส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
  3. พบการประกอบกิจการบดย่อย ร่อนแยกแผ่นทองแดงเคลือบแกรไฟต์ซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นวัสดุจากอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ เข้าข่ายเป็นของเสียเคมีวัตถุ บัญชี 5.2 ลำดับที่ 2.17 ของเสียประเภทแบตเตอรี่ ยังไม่ได้แยกประเภท ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 โดยวัตถุดิบส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งการนำเข้าของเสียเคมีวัตถุ ต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 73 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  4. การประกอบการโรงงานทั้งหมด เป็นประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งสำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินคดี และมีคำสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ซึ่งการฝ่าฝืนคำสั่งตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง
  5. พบการก่อสร้างอาคารโรงงาน และเตรียมติดตั้งเครื่องจักรสำหรับร่อนแยกเศษโลหะ 1 เครื่องและเตาหลอมโลหะ เชื้อเพลิงน้ำมันไม่ทราบชนิด 1 เตา ในบริเวณด้านหลังโรงงาน ซึ่งไม่ใช่พื้นที่บริเวณโรงงานเดิม เป็นการตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 12 วรรคสอง มีความผิดตามมาตรา 50 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  6. มีการกองเก็บวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ทั้งภายในอาคารและภายนอก เป็นจำนวนมาก โดยไม่มีมาตรการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 7(3) แห่งประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566 อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8(5) มีโทษตามมาตรา 45 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  7. เจ้าหน้าที่ ได้เก็บตัวอย่าง แผ่นทองแดงเคลือบแกรไฟต์ เพื่อนำมาตรวจสอบ จำนวน 3 ตัวอย่าง ทั้งนี้ หากผลวิเคราะห์ตัวอย่างเข้าข่ายเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ถือเป็นความผิดฐานครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
  8. เจ้าหน้าที่ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 35 (3) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และมาตรา 54 (3) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 อายัดแผ่นทองแดงเคลือบแกรไฟต์ ทั้งที่เป็นวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการตรวจสอบและพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายต่อไป
กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด
กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด
กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด
กรมโรงงานฯ นำกำลังเข้าตรวจของเสียผิดกฎหมาย ในพื้นที่แปลงยาว ฉะเชิงเทรา พร้อมดำเนินคดีถึงที่สุด

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #กระทรวงอุตสาหกรรม #DIW #MIND #SAVEอุตสาหกรรมไทย #แปลงยาว #ฉะเชิงเทรา #ของเสีย #นำเข้า #แผ่นทองแดงเคลือบแกรไฟต์