You are currently viewing อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567
อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567

เนื่องในวันโอโซนสากลประจำปี 2567 กรมโรงงานอตุสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดงานแถลงข่าววันโอโซนสากลขึ้นที่โรงแรมอมารี กรุงเทพฯ ในวันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2567 โดยนายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นผู้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน และตอบข้อซักถาม

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567
อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567

องค์การสหประชาชาติ (United Nations General Assembly – UNGA) ได้กำหนดให้วันที่ 16 กันยายน เป็น วันโอโซนโลก อย่างเป็นทางการในปี 1994 โดยวันที่นี้ถูกเลือกเพื่อระลึกถึงการลงนามใน พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารที่ทำลายชั้นโอโซน ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน ปี ค.ศ. 1987 โดยองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme – UNEP) เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมวันโอโซนโลกเพื่อสร้างความตระหนักและกระตุ้นการดำเนินการระดับโลกในการปกป้องชั้นโอโซนวันโอโซนโลก ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็นเหตุการณ์ระดับโลกที่มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการลดลงของชั้นโอโซนและกระตุ้นให้มีการดำเนินการเพื่อปกป้องชั้นโอโซน วันนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการลงนามใน “พิธีสารมอนทรีออล” ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งเน้นการยุติการผลิตและการใช้สารที่ทำลายชั้นโอโซน ชั้นโอโซนเป็นส่วนสำคัญของบรรยากาศโลก ซึ่งอยู่ในชั้นสตราโตสเฟียร์ และมีบทบาทสำคัญในการปกป้องชีวิตบนโลกโดยการดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ หากปราศจากชั้นโอโซนนี้ รังสี UV ที่เพิ่มขึ้นจะเข้าสู่พื้นโลกมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังที่สูงขึ้น ก่อให้เกิดภาวะต้อกระจก และทำลายระบบนิเวศต่างๆ

นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (ซ้าย) และ นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (ขวา)
อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567
อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567
อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาเวียนนา และพิธีสารมอนทรีออล เมื่อวันที่  7 กรกฎาคม 2532 รวมทั้งให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออลส่วนที่มีการปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม อีก 5 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นที่ กรุงคิกาลี (The Kigali Amendment to the Montreal Protocol (2016))  เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับ และผลกระทบต่อประเทศไทยในการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี มีดังนี้

1.ประโยชน์ที่จะได้รับ

1.1 ประเทศไทยสามารถซื้อขายสาร HFCs กับประเทศภาคีสมาชิกได้ โดยภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้สาร HFCs เช่น ภาคอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านเรือน ภาคอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในรถยนต์ ภาคอุตสาหกรรมผลิตโฟม ภาคอุตสาหกรรมผลิตตู้เย็น ตู้แช่ เชิงพาณิชย์

1.2 เนื่องจากสาร HFCs เป็นสารควบคุมภายใต้พิธีสารมอนทรีออล และเป็นก๊าซเรือนกระจกซึ่งมีค่าศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนภายใต้ข้อตกลงปารีส ดังนั้น การลดการใช้สาร HFCs โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปใช้สารทดแทนที่มีค่าศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนต่ำ จึงเป็นการสนับสนุนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065

1.3 ประเทศไทยสามารถขอรับเงินช่วยเหลือ รวมถึงความช่วยเหลือทางด้านนโยบายและด้านเทคนิคจากกองทุนพหุภาคี ภายใต้พิธีสารมอนทรีออล เพื่อนำมาดำเนินการลดการใช้สาร HFCs ซึ่งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยไม่เสียโอกาสในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปใช้สารทดแทนที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน และมีค่าศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนต่ำ เป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น

1.4 อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้สาร HFCs เช่น เครื่องปรับอากาศในบ้านเรือน เครื่องปรับอากาศที่ใช้ในรถยนต์ ตู้เย็น ตู้แช่เชิงพาณิชย์  ยังคงมีสารเพียงพอเพื่อการซ่อมบำรุงจนกว่าอุปกรณ์นั้น ๆ จะหมดอายุการใช้งาน

อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567
อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567
อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567
อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567

2.ผลกระทบ

2.1 ภาคอุตสาหกรรมที่ใช้สาร HFCs ของไทยจะถูกจำกัดปริมาณการใช้สาร HFCs อย่างไรก็ตามพันธกรณีภายใต้พิธีสารมอนทรีออลได้ยืดระยะเวลาในการเริ่มการลดการใช้สาร HFCs ออกไป 5 ปี หลังจากพิธีสารฯ ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ซึ่งเพียงพอต่อการลดการใช้สาร HFCs

2.2 ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้สาร HFCs จะต้องลงทุนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อไปใช้สารทดแทนใหม่ที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน และมีค่าศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนต่ำ

อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567
อธิบดีกรมโรงงานฯแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจำปี 2567

 

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรอ #DIW #กระทรวงอุตสาหกรรม #MIND #วันโอโซนสากล