วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.30 น. นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ของโครงการ Provision of services for studying and preparing the end-of-waste criteria for rice husk ash and demonstrate the production of products from rice husk ash เพื่อร่วมให้ข้อคิดเห็น คำแนะนำ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากคณะผู้เชี่ยวชาญให้แก่ทีมวิจัยในการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการ และเพื่อเป็นข้อมูลสำคัญนำไปสู่การผลักดันการสิ้นสุดความเป็นของเสีย (End-of-waste) ของขี้เถ้าแกลบ โดยมี นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ดร.อุมา วิรัตน์สกุลชัย ผู้ประสานงานโครงการ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNIDO (United Nations Industrial Development Organization) คณะผู้เชี่ยวชาญ และคณะทำงานด้านเทคนิคสำหรับส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม YT-711 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
การประชุมในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมการรับฟังความคิดเห็นและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนของการศึกษานี้ เช่น ด้านวัสดุศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ นับเป็นความสำคัญอย่างยิ่งแก่ทีมที่ปรึกษาโครงการในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการ ทั้งในส่วนผลการดำเนินงาน และการพัฒนาเกณฑ์สิ้นสุดความเป็นของเสียของขี้เถ้าแกลบ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ผ่านการบริหารของ UNIDO และมี สวทช. โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เป็นที่ปรึกษาดำเนินโครงการ ซึ่งนอกจากจะศึกษาเพื่อการนำไปใช้งานจริงแล้ว ยังมุ่งหวังต่อยอดพัฒนางานวิจัยสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ รวมไปถึงการพัฒนาและปฏิรูปมาตรฐาน กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนแนวคิด End-of-waste และการใช้วัตถุดิบทุติยภูมิของขี้เถ้าแกลบ
โครงการฯ ดังกล่าว เป็นการศึกษาและพัฒนาการผลิตสารละลายไอโซเดียมซิลิเกตและไบโอโพแทสเซียมซิลิเกตอย่างยั่งยืนจากขี้เถ้าแกลบ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องในการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่ากากอุตสาหกรรม เพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดการสิ้นสุดความเป็นของเสีย (End-of-waste) โดยขี้เถ้าแกลบเป็นหนึ่งในของเสียอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่จะนำมาเพิ่มมูลค่าและหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ จากข้อมูลพบว่าขี้เถ้าแกลบเป็นของเสียที่มีซิลิกาสูง สามารถนำมาแปรสภาพเป็นวัสดุไบโอ และใช้เป็นทรัพยากรสำรองทดแทนทรัพยากรธรรมชาติเดิมได้
ทั้งนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญร่วมให้ข้อคิดเห็นในการประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย ศ ดร. สนอง เอกสิทธิ์ อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ศ. ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ดร.นุจรินทร์ รามัญกุล ผู้เชี่ยวชาญวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ รศ.ดร ธภัทร ศิลาเลิศรักษา อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รศ.ดร.ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.นันท์ บุญยฉัตร หัวหน้ากลุ่มนวัตกรรมอุตสาหกรรมรีไซเคิล กองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) นายอาศิรวรรธน์ โพธิพันธุ์ นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ กองกำหนดมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม #กากอุตสาหกรรม #ขี้เถ้าแกลบ #UNIDO #การสิ้นสุดความเป็นของเสีย #EndofWaste #ไอโซเดียมซิลิเกต #ไบโอโพแทสเซียมซิลิเกต #ซิลิกา #สวทช #MTEC