You are currently viewing กรมโรงงานฯ ประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หารือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน
กรมโรงงานฯ ประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หารือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน

วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมรับฟังความเห็น เพื่อกำหนดแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีนางจินดา เตชะศรินทร์ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย และผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 80 คน การประชุมในครั้งนี้ ต่อเนื่องจากเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 กรมโรงงานได้เปิดรับฟังความเห็นจากบุคลากรภายในกระทรวงอุตสาหกรรม และในวันนี้เป็นการเปิดรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อความเห็นที่หลากหลายและครอบคลุมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม 509 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม

นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นางจินดา เตชะศรินทร์ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย
นางจินดา เตชะศรินทร์ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย
กรมโรงงานฯ ประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หารือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กรมโรงงานฯ ประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หารือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ได้มีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้ว บทบัญญัติบางมาตราไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป หรือไม่มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจในการบังคับใช้ไว้ กรมโรงงานฯ จึงเห็นสมควรให้มีการพิจารณาทบทวนกฎหมาย โดยมีการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ ดังนี้

  1. การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 30 ซึ่งเดิมมาตรานี้กฎหมายไม่ให้อำนาจในการสั่งการกับผู้ดำเนินการเขตประกอบการอุตสาหกรรมไว้ จึงได้มีการแก้ไข เพื่อการควบคุม กำกับ ดูแล โดยบัญญัติให้อำนาจสั่งการกับผู้ดำเนินการเขตประกอบการอุตสาหกรรม การยกเลิก เพิกถอน เขตประกอบการอุตสาหกรรม
  2. การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 ซึ่งเดิมมาตรานี้กำหนดให้ผู้ตรวจสอบเอกสอบเอกชนดำเนินการตรวจสอบและจัดทำรายงานผลการตรวจสอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้ ซึ่งเป็นทางเลือกของผู้ประกอบกิจการโรงงาน แต่ปัจจุบันได้ทบทวนแก้ไขมาตรานี้ เช่น กรณีที่ได้มีการออกคำสั่งตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 39 วรรคหนึ่ง ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องให้ผู้ตรวจสอบเอกสารดำเนินการตรวจสอบและจัดทำรายงานผลการตรวจสอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยผู้รับคำสั่งเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย เพื่อพิสูจน์หรือแสดงว่าผู้รับคำสั่งได้ดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวข้างต้นแล้ว
  3. เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการโรงงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบกิจการโรงงานในการจัดให้มีการบำบัดมลพิษ หรือเพื่อให้การบำบัดมลพิษมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งเดิมมิได้มีบทบัญญัตินี้
  4. การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 39 วรรคสาม โดยภายใน 30 วันนับถัดจากวันที่ออกคำสั่งปิดโรงงาน กรณีที่โรงงานมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความเดือดร้อนแก่บุคคล ทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงานหรือเกิดความเสียหาย หรือเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้สั่งแก้ไขปรับปรุงโรงงานภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ และให้ถือว่าผู้นั้นมีฐานะเสมือนเป็นผู้ประกอบกิจการโรงงานจนกว่าจะดำเนินการตามคำสั่งแล้วเสร็จ ซึ่งเดิมมิได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ ทำให้ไม่สามารถสั่งการภายหลังที่ออกคำสั่งตามมาตรา 39 วรรคสามได้
  5. การเพิ่มโทษจำคุก สำหรับความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือกำหนดให้มีค่าปรับในอัตราที่สูงขึ้น
กรมโรงงานฯ ประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หารือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กรมโรงงานฯ ประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หารือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

กรมโรงงานฯ ประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หารือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กรมโรงงานฯ ประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หารือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กรมโรงงานฯ ประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หารือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กรมโรงงานฯ ประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หารือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

หน่วยงานที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, กรมควบคุมมลพิษ, กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ, กรมธุรกิจพลังงาน, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, กรมโยธาธิการและผังเมือง, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม, สถาบันพลาสติก, สถาบันอาหาร, สภาวิศวกร, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.), สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร, บริษัท เขตประกอบการอุตสาหกรรมฟอกหนังก.ม. 34 จำกัด, บริษัท ซิมสุลาลัย จำกัด, บริษัท ดับบลิว เอ็ม เอส จำกัด, บริษัท ที เอ อาร์ เอฟ จำกัด, บริษัท มัตสึดะ ซังเหียว (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท สยามเอ็นไวรอนเมนทอลเทคโนโลยี จำกัด, บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาขน), บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด, บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด

กรมโรงงานฯ ประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หารือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กรมโรงงานฯ ประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หารือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #โรงงาน #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม