ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานประชุมหารือ เรื่อง การพัฒนาความร่วมมือเพื่อดำเนินการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม
.

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานประชุมหารือ เรื่อง การพัฒนาความร่วมมือเพื่อดำเนินการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับ ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA พร้อมคณะ ร่วมนำเสนอ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงใน 5 ปีข้างหน้า และปัญหา/อุปสรรคในการเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งปัญหาสำคัญที่พบในปี 2564 คือ ปัญหาโควิด-19 การขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี และการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะดิจิทัล นำมาซึ่งแบบสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม ปี 2566 เพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. 2566-2570 ของรัฐบาล ในการสร้างเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่เข้มแข็ง มีคุณภาพ มีพลวัตบนฐานทุนมนุษย์ ผ่านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโรงงานไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0
ประชุมหารือ เรื่อง การพัฒนาความร่วมมือเพื่อดำเนินการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม ระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรม กับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้รับมอบนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งยกระดับภาคอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ภายใต้แนวคิดอุตสาหกรรมดีอยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน มุ่งเน้น 4 มิติ ได้แก่ ความสำเร็จทางธุรกิจ ความอยู่ดีกับสังคมโดยรวม ความลงตัวกับกติกาสากล และการกระจายรายได้สู่ชุมชนที่ตั้ง โดยได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว Green Industry (GI) ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระดับ ตาม (ร่าง) หลักเกณฑ์อุตสาหกรรมสีเขียว ดังนี้
ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA พร้อมคณะ ร่วมนำเสนอ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงใน 5 ปีข้างหน้า และปัญหา/อุปสรรคในการเป็นอุตสาหกรรม 4.0

GI 1
#ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) มุ่งเน้นให้โรงงานอุตสาหกรรม สมัครเข้าร่วม ผ่าน i-Industry พร้อมยืนยันรับทราบนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม คำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงาน

GI 2
#ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) โรงงานอุตสาหกรรม ต้องมีการจัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ด้านการใช้ทรัพยากร ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ด้านการจัดการของเสีย และอื่นๆ เพื่อให้ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก

GI 3
#ระบบสีเขียว (Green System) โรงงานอุตสาหกรรม ต้องมีการรายงานข้อมูลผ่านระบบ i-Single from ประเมินตนเองผ่าน Thailand i4.0 Checkup และ Safety Application แสดงผลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการตามแผนงานฯ และจัดทำแผนงานฯ ต่อเนื่อง
และ



GI 5
#เครือข่ายสีเขียว (Green Network) โรงงานอุตสาหกรรมต้องได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 มีการส่งเสริม Supply Chain มุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียว
#กรณีเป็นโรงงาน ต้องได้ GI 3 ขึ้นไป, กรณีไม่เป็นโรงงาน แต่มีการดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต้องมีมาตรการควบคุมหรือลดผลกระทบที่เกิดขึ้น มีการเสนอ Carbon Neutrality Plan หรือ Net Zero Emission Plan รวมถึงแสดงผลการกระจายรายได้สู่ชุมชน และ ผลการประเมินความพึงพอใจเฉลี่ย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 1- 3 เป็นการประเมินแบบ Self-Declaration และ อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 – 5 เป็นการประเมินโดยมีผู้ตรวจประเมิน
นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน และ นายธีรทัศน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูล ณ ห้องประชุม 503 กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมหารือขอคำแนะนำ DEPA ให้จัดทำแบบสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมโดยเน้นกลุ่ม GI 3 ขึ้นไปทั่วประเทศ เพื่อนำมาซึ่งข้อมูลพื้นฐานของภาคอุตสาหกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยเอื้อและปัญหา/อุปสรรคในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ สู่การนำไปปรับปรุงยกระดับสถานประกอบการ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เกิดการลงมือปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
.

ในการประชุมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล ประกอบด้วย นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน และ นายธีรทัศน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ณ ห้องประชุม 503 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
.