You are currently viewing กรอ. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จับมือ ภาคเอกชน ร่วมผลักดันความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรม และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
กรอ. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จับมือ ภาคเอกชน ร่วมผลักดันความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรม และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

วันที่ 12 ธันวาคม 2566 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้บริหารบริษัท อินทรี ซุปเปอร์บล็อก จำกัด ผู้บริหารบริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสีย บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีสเทิร์นซิลิเกต จำกัด และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการ ในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มมูลค่าทางเศรฐกิจ

ดร. จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ดร. จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ และผลักดันหลักการ End-of-Waste หรือการสิ้นสุดของการเป็นของเสียในประเทศไทย ซึ่งสอดรับกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ใช้หัวและใจ ในการผลักดันให้ผู้ประกอบการเกิดการขับเคลื่อนทางธุรกิจอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน และภายใต้บันทึกความร่วมมือนี้จะทำให้เกิดการพัฒนานำกากของเสียอุตสาหกรรมไปเพิ่มมูลค่า และพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อนำไปสู่การใช้งานจริง โดยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้งาน นอกจากนี้ ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของกระทรวงอุตสาหกรรม ในโครงการนำร่องได้คัดเลือกของเสียที่มีศักยภาพ 2 ชนิด ได้แก่ ขี้เถ้าแกลบ และแม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์ (รวมถึงปูนพลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว)

นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน
นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน

การศึกษานำร่องของทั้งสองโครงการได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ให้ความสำคัญกับการนำของเสียที่มีศักยภาพนำกลับมาเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ประโยชน์ใหม่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ นำไปสู่การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีสเทิร์นซิลิเกต จำกัด และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เข้าร่วมโครงการการศึกษาเพื่อผลิตสารละลายไบโอโซเดียมซิลิเกตและไบโอโพแทสเซียมซิลิเกตอย่างยั่งยืนจากขี้เถ้าแกลบ ในส่วนการศึกษาและดำเนินการเพื่อนำร่องทดสอบการนำแม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์ และปูนพลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วกลับมาผลิตเป็นแผ่นยิปซัมสำหรับการใช้ในงานก่อสร้าง ได้รับความร่วมมือจากบริษัท อินทรี ซุปเปอร์บล็อก จำกัด บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด และศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย

กรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ และผลักดันหลักการ End-of-Waste หรือการสิ้นสุดของการเป็นของเสียในประเทศไทย
กรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ และผลักดันหลักการ End-of-Waste หรือการสิ้นสุดของการเป็นของเสียในประเทศไทย

ด้าน ดร.อุมา วิรัตน์สกุลชัย องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า บันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรม และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มมูลค่าทางเศรฐกิจในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานภายใต้โครงการ: Application of industry-urban symbiosis and green chemistry for low emission and persistent organic pollutants free industrial development in Thailand ที่ดำเนินการโดยองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก หรือ GEF และมี กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการขับเคลื่อนโครงการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

“ความสำเร็จภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ กรมโรงงานอุตาหกรรมมุ่งหวังให้เป็นต้นแบบสำหรับผู้ประกอบการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่จะนำไปสู่การขยายผลการดำเนินงาน สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ และร่วมกันผลักดันงานด้านความยั่งยืนตามทิศทางของประเทศไทยตามโมเดล BCG เพื่อรักษาสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” อธิบดีกรมโรงงานฯ กล่าวปิดท้าย

ภายใต้บันทึกความร่วมมือนี้จะทำให้เกิดการพัฒนานำกากของเสียอุตสาหกรรมไปเพิ่มมูลค่า และพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์
ภายใต้บันทึกความร่วมมือนี้จะทำให้เกิดการพัฒนานำกากของเสียอุตสาหกรรมไปเพิ่มมูลค่า และพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์
เพื่อนำไปสู่การใช้งานจริง โดยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้งาน
เพื่อนำไปสู่การใช้งานจริง โดยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้งาน

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #กระทรวงอุตสาหกรรม #DIW #MIND #อุตสาหกรรมสีเขียว #GI #Green #industry