You are currently viewing อธิบดีกรมโรงงานฯ ลงพื้นที่ระยองอีกครั้ง คุมเข้ม “วิน โพรเสส” จัดการของเสียให้ทันตามกำหนด

วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 . นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายพิทยาปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ลงพื้นที่โรงงาน บริษัท วิน โพรเสส จำกัด อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เพื่อกำกับและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของ บริษัท เอส.เค. อินเตอร์เคมิคอล จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับบำบัดกำจัดของเสียตามสัญญาว่าจ้างกับ บริษัท วิน โพรเสส จำกัด ในการกำจัดบำบัดกากของเสียที่คงเหลืออยู่ภายในโรงงานและบ่อน้ำเสียบริเวณรอบโรงงาน ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดระยอง ให้โรงงานต้องบำบัดกำจัดของเสียให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2566 โดยมีเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้แก่ นางจินดา เตชะศรินทร์ ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม นายทวี อำพาพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคตะวันออก ร่วมด้วย นายวิเชียร ทองด้วง อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง เจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี) อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) เจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น และชาวบ้านหนองพะวาที่ได้รับผลกระทบ นำโดย นางดาวัลย์ จันทรหัสดี เจ้าหน้าที่อาวุโสและที่ปรึกษาชุมชน มูลนิธิบูรณะนิเวศ

กรอ. กำกับและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของ บริษัท เอส.เค. อินเตอร์เคมิคอล จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับบำบัดกำจัดของเสียตามสัญญาว่าจ้างกับ บริษัท วิน โพรเสส จำกัด ในการกำจัดบำบัดกากของเสียที่คงเหลืออยู่ภายในโรงงานและบ่อน้ำเสียบริเวณรอบโรงงาน
กรอ. กำกับและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของ บริษัท เอส.เค. อินเตอร์เคมิคอล จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับบำบัดกำจัดของเสียตามสัญญาว่าจ้างกับ บริษัท วิน โพรเสส จำกัด ในการกำจัดบำบัดกากของเสียที่คงเหลืออยู่ภายในโรงงานและบ่อน้ำเสียบริเวณรอบโรงงาน

การลงพื้นที่ในครั้งนี้ อธิบดีกรมโรงงานฯ ได้ตรวจสอบปัญหากรณีบ่อเลี้ยงปลาของชาวบ้านในพื้นที่ติดกับโรงงาน ขนาดบ่อกว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร ลึกประมาณ 4 เมตร ได้รับผลกระทบโดยปลาที่เลี้ยงไว้บางส่วนตายลงและน้ำในบ่อเปลี่ยนสีไปจากเดิม คาดว่าอาจเกิดจากการรั่วไหลซึมมาตามชั้นดินของน้ำปนเปื้อนจากบ่อที่อยู่ระหว่างการบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากขณะนี้บริษัทฯ ผู้รับบำบัดกำจัด ได้ขุดบ่อขึ้นใหม่เป็นบ่อพักสำหรับรองรับน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วเติมออกซิเจนให้ได้ค่าความปลอดภัยก่อนปล่อยระบายออกสู่ธรรมชาติ ซึ่งสันนิษฐานเบื้องต้นว่าอาจเป็นต้นตอของสาเหตุการปนเปื้อนดังกล่าวอธิบดีกรมโรงงานฯ จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่สูบน้ำออกจากบ่อเลี้ยงปลานี้โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสังเกตและพิสูจน์แหล่งที่มาและทิศทางของการปนเปื้อนที่เกิดขึ้น และจะเร่งแก้ไขให้เร็วที่สุด พร้อมมอบศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคตะวันออกในการติดตามตรวจวัดวิเคราะห์น้ำที่ได้จากการบำบัดให้มีคุณลักษณะตามมาตรฐาน

อรอ. สั่งการให้เจ้าหน้าที่สูบน้ำออกจากบ่อเลี้ยงปลาที่ได้รับผลกระทบ เพื่อสังเกตและพิสูจน์แหล่งที่มาและทิศทางของการปนเปื้อนที่เกิดขึ้น
อรอ. สั่งการให้เจ้าหน้าที่สูบน้ำออกจากบ่อเลี้ยงปลาที่ได้รับผลกระทบ เพื่อสังเกตและพิสูจน์แหล่งที่มาและทิศทางของการปนเปื้อนที่เกิดขึ้น

สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินการ พบว่า มีการนำของเสียบางส่วนที่อยู่ภายในอาคารออกไปบำบัดกำจัดแล้วกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนของเสียทั้งหมด ประกอบด้วย ของเสียเคมีวัตถุที่เป็นของเหลวและกากตะกอน อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหม่คือมีการตรวจพบกรดไฮโดรฟลูออริก (Hydrofluoric Acid) หรือ กรดกัดแก้ว ซึ่งเป็นสารอันตรายที่มีความเป็นพิษรุนแรงบรรจุอยู่ในถังเก็บสารเคมี (Intermediate Bulk Container: IBC) ราว 10,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งโรงงานแห่งนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้มีไว้หรือครอบครองสารดังกล่าว โดย กรอ. จะดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินคดีเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย .. 2535 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป

มีการตรวจพบกรดไฮโดรฟลูออริก ซึ่งโรงงานแห่งนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้มีไว้หรือครอบครองสารดังกล่าว โดย กรอ. จะดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินคดีเพิ่มเติม
มีการตรวจพบกรดไฮโดรฟลูออริก ซึ่งโรงงานแห่งนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้มีไว้หรือครอบครองสารดังกล่าว โดย กรอ. จะดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินคดีเพิ่มเติม

ต่อมาในเวลา 11.30 . นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจแผนการบำบัดกำจัดของเสียเพื่อแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนจากการประกอบกิจการโรงงาน บริษัท วิน โพรเสส จำกัด ร่วมกับคณะลงพื้นที่และชาวบ้านหนองพะวาที่ได้รับผลกระทบ ห้องประชุม ชั้น 2 องค์การบริหารส่วนตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ทั้งนี้ อธิบดีกรมโรงงานฯ จะเสนอต่อศาลจังหวัดระยองในการพิจารณาปรับแนวทางการดำเนินการบำบัดกำจัดของเสียเพื่อรับมือกับฤดูฝนที่ใกล้เข้ามา โดยจะเร่งดำเนินการในส่วนของน้ำปนเปื้อนซึ่งมีสภาพเป็นกรดในบ่อดินบริเวณรอบโรงงานก่อน โดยเฉพาะบ่อดินที่ 1 (จากจำนวนทั้งหมด 6 บ่อ) ซึ่งเป็นบ่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ความลึกกว่า 12 เมตร มีน้ำในบ่อมากที่สุด ปริมาตรราว 45,000-50,000 ลูกบาศก์เมตร และมีความเข้มข้นของสารปนเปื้อนมากที่สุด รวมทั้งวางแผนบริหารจัดการพื้นที่บ่อพักน้ำให้เพียงพอ ตลอดจนปรับพื้นที่โรงงานไม่ให้กีดขวางทางน้ำธรรมชาติ เพื่อลดความเดือดร้อนเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

จะต้องปรับแนวทางการดำเนินการบำบัดกำจัดของเสียเพื่อรับมือกับฤดูฝนที่ใกล้เข้ามา
จะต้องปรับแนวทางการดำเนินการบำบัดกำจัดของเสียเพื่อรับมือกับฤดูฝนที่ใกล้เข้ามา

ตราบใดที่มีมลพิษตกค้างในพื้นที่ สถานะความเป็นโรงงานจะยังไม่หมดไป ทำให้ กรอ. มีอำนาจหน้าที่กำกับตรวจสอบการดำเนินการบำบัดกำจัดกากของเสียอย่างเคร่งครัดภายใต้กฎหมาย เป็นไปตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง และทันเวลาที่ศาลกำหนด ยืนยันว่ายังคงเดินหน้าช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง บนความเข้าใจในปัญหาความเดือดร้อนที่ชาวบ้านได้รับ และพร้อมบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการปัญหาอย่างถึงที่สุดอธิบดีกรมโรงงานฯ กล่าวปิดท้าย

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
การประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจแผนการบำบัดกำจัดของเสียเพื่อแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนจากการประกอบกิจการโรงงาน บริษัท วิน โพรเสส จำกัด
การประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจแผนการบำบัดกำจัดของเสียเพื่อแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนจากการประกอบกิจการโรงงาน บริษัท วิน โพรเสส จำกัด

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง #กากอุตสาหกรรม #วินโพรเสส #บริษัทวินโพรเสสจำกัด #ของเสียเคมี #ไฮโดรฟลูออริก #Hydrofluoric #กรดกัดแก้ว