อุตสาหกรรมยุคแรก

ประเทศไทยเริ่มมีการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมมาแต่สมัยโบราณ แต่การอุตสาหกรรมในขณะนั้นเป็นประเภทสินค้าหัตถกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การทอผ้า การตีเหล็ก การจักสาน การแกะสลักไม้ การทำทองรูปพรรณ และการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เช่น โรงงานสุรา โรงงานน้ำตาลทรายแดง

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้นโดยมีชาวต่างประเทศเข้ามาสร้างโรงงาน เช่น โรงกษาปณ์ โรงสีข้าว โรงเลื่อย และหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการพัฒนาด้านการอุตสาหกรรม โดยเอกชนได้เริ่มลงทุนก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นอีกหลายประเภท เช่น โรงงานบุหรี่ โรงงานทำกระดาษ โรงงานทำน้ำอัดลม โรงงานทำสบู่ แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำลงทั่วโลกในปี พ.ศ. 2470 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยด้วย ทำให้ไม่มีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมในประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว

การก่อตั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลได้ยึดแนวการบริหารประเทศ โดยคำนึงถึงความสมบูรณ์ของราษฎรทางด้านเศรษฐกิจจึงได้จัดทำแผนการดำเนินการทางเศรษฐกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอุตสาหกรรม กิจการบางอย่างที่เป็นสาธารณูปโภค รัฐจะเข้าควบคุมดูแลตลอดจนการร่วมงานกับบริษัทเอกชนดำเนินการในรูปของบริษัทสาธารณะ ส่วนที่ไม่เป็นสาธารณูปโภคจะให้ประชาชนดำเนินการธุรกิจอุตสาหกรรมได้

พ.ศ. 2485 เพื่อเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรม รัฐบาลในสมัยนั้นจึงมีนโยบายที่จะจัดสร้างและดำเนินการอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรมภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่น โดยแก้ไขพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยยุบกระทรวงการเศรษฐกิจและจัดตั้งกระทรวงใหม่ขึ้น 2 กระทรวงคือ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม

5 พฤษภาคม 2485 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้รับการสถาปนาเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุตสาหกรรม โดยมีหน้าที่ดูแลโรงงานต่างๆที่เป็นของรัฐ ควบคุมดูแลการดำเนินงานของโรงงานเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงมาตรฐานแห่งคุณภาพและปริมาณ ตลอดจนรักษาระดับราคาของผลิตภัณฑ์ที่โรงงานต่างๆผลิตจำหน่ายแก่ประชาชน พร้อมทั้งสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เห็นว่ามีความจำเป็นแก่ประเทศชาติในยามสงคราม

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560

รายชื่ออธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ลำดับที่ ผู้ดำรงตำแหน่ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
ชื่อ สกุล เริ่มต้น สิ้นสุด
1 พล.ต.ม.ล.อภิรุม ชุมสาย 2485 2487
2 พล.ต.พระยาสรกิจพิศาล   2487 2489
3 ม.จ. สิทธยากร วรวรรณ 2489 2497
4 นายประวัติ สุขุม 2497 2500
5 พล.ต.จำรูญ วีณะคุปต์ 2500 2501
6 นาวาตรีหยู่ ทองเวส 2501 2503
7 นายสอาด มีชูธน 2503 2510
8 นายอุดมศักดิ์ ภาสะวณิช 2510 2522
9 นายวีระ สุสังกรกาญจน์ 2522 2525
10 นายวิสิทธิ์ น้อยพันธุ์ 2525 2527
11 นายพิศาล คงสำราญ 2527 2527
12 นายจำนงค์ พนัสจุฑาบูลย์ 2527 2528
13 นายพิศาล คงสำราญ 2528 2531
14 นายยิ่งยง ศรีทอง 2531 2534
15 นายปรีชา อรรถวิภัชน์ 2534 2536
16 นายมนัส สุขสมาน 2536 2538
17 นายเทียร เมฆานนท์ชัย 2538 2543
18 นางสาวกัญญา สินสกุล 2543 2544
19 นายวิระ มาวิจักขณ์ 2544 2546
20 นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค 2546 2547
21 นายอิสสระ โชติบุรการ 2547 2549
22 นายรัชดา สิงคาลวณิช 2549 2552
23 นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี 2552 2553
24 นายประพัฒน์ วนาพิทักษ์ 2553 2554
25 นายอาทิตย์ วุฒิคะโร 2554 2555
26 นายประพัฒน์ วนาพิทักษ์ 2555 2556
27 นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ 2556 2557
28 นายพสุ โลหารชุน 2557 2559
29 นายมงคล พฤกษ์วัฒนา 2559 2561
30 นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ 2561 2562
31 นายประกอบ วิวิธจินดา 2562 2564
32 นายวันชัย พนมชัย 2564 2565
33 นายจุลพงษ์ ทวีศรี 2565 ปัจจุบัน