You are currently viewing กรมโรงงานฯ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดสัมมนา การใช้โพลียูรีเทนโฟม ในกระบวนการผลิตโฟมแบบฉีดพ่น เพื่อลดและเลิกใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
กรมโรงงานฯ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดสัมมนา การใช้โพลียูรีเทนโฟม ในกระบวนการผลิตโฟมแบบฉีดพ่น เพื่อลดและเลิกใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 นายพรยศ กลั่นกรอง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นางสาวปานทอง ศรีคัฒนพรหม ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุอันตราย เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนา Polyurethane Technology & Safety Handling for Sustainability and New Building Code ภายใต้โครงการลดและเลิกใช้สาร HCFCs (สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน) โดยมี ผู้แทนจากกลุ่มย่อยอุตสาหกรรมโพลียูรีเทน สภาอุตสาหกรรมฯ ดร.วิรัช วิฑูรเธียร ผู้แทนธนาคารโลก และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมโฟม เข้าร่วมในพิธีเปิดสัมมนา ณ โรงแรม อวานี รัชดา กรุงเทพ

นางสาวปานทอง ศรีคัฒนพรหม ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุอันตราย
นางสาวปานทอง ศรีคัฒนพรหม ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุอันตราย
ดร. วิรัช วิฑูรย์เธียร ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านพิธีสารมอนทรีออล ธนาคารโลก
ดร. วิรัช วิฑูรย์เธียร ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านพิธีสารมอนทรีออล ธนาคารโลก

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการลดและเลิกใช้สาร HCFCs ตามพันธกรณีภายใต้พิธีสารมอนทรีออล โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนพหุภาคีภายใต้พิธีสารมอนทรีออล ผ่านธนาคารโลก เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในภาคอุตสาหกรรมโฟมทุกประเภท ในการลดและเลิกใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เช่น สาร HCFCs และ HFCs เป็นต้น

ระยะที่ 1 โครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย จำนวน 45 ราย ในภาคอุตสาหกรรมโฟมทุกประเภท ยกเว้น ภาคอุตสาหกรรมโฟมแบบฉีดพ่น (spray foam) เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตโฟมจากเดิมที่ใช้สาร HCFC-141b ไปใช้สาร HFC-245fa สารไซโคลเพนเทน และสูตรน้ำ และยังให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในการผลิตสาร Pre-blended Polyol รวมเป็นจำนวนเงินตลอดโครงการทั้งสิ้น 225,711,613.70 บาท ผลการดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 สามารถเลิกการผลิตและการใช้สาร HCFC-141b ได้ 164 โอดีพีตัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นจำนวนมากกว่า 803,000 ตันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ระยะที่ 2 อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการฯ โดยให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโฟมแบบฉีดพ่น และผู้ประกอบการโฟมที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่ใช้สาร HCFC-141b ไปเป็น HFO ซึ่งมีค่าศักยภาพการทำให้โลกร้อนต่ำ

จากการดำเนินโครงการดังกล่าว จึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างกรมโรงงานฯ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดสัมมนา Polyurethane Safety Handling for sustainability เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาองค์ความรู้ด้านความปลอดภัย ในการใช้โพลียูรีเทนโฟม เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตโฟมแบบฉีดพ่นต่อไป

กรมโรงงานฯ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดสัมมนา การใช้โพลียูรีเทนโฟม ในกระบวนการผลิตโฟมแบบฉีดพ่น เพื่อลดและเลิกใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
กรมโรงงานฯ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดสัมมนา การใช้โพลียูรีเทนโฟม ในกระบวนการผลิตโฟมแบบฉีดพ่น เพื่อลดและเลิกใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
กรมโรงงานฯ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดสัมมนา การใช้โพลียูรีเทนโฟม ในกระบวนการผลิตโฟมแบบฉีดพ่น เพื่อลดและเลิกใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
กรมโรงงานฯ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดสัมมนา การใช้โพลียูรีเทนโฟม ในกระบวนการผลิตโฟมแบบฉีดพ่น เพื่อลดและเลิกใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
กรมโรงงานฯ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดสัมมนา การใช้โพลียูรีเทนโฟม ในกระบวนการผลิตโฟมแบบฉีดพ่น เพื่อลดและเลิกใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
กรมโรงงานฯ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดสัมมนา การใช้โพลียูรีเทนโฟม ในกระบวนการผลิตโฟมแบบฉีดพ่น เพื่อลดและเลิกใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม #saveอุตสาหกรรมไทย #ปรับปรุงกฎหมาย #HCFCs #โอโซน #โลกร้อน