วันที่ 20 กันยาน 2567 เวลา 09.00 น. ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Meeting) “(ร่าง) เกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย และการสร้างความร่วมมือในการใช้ประโยชน์จากแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วตลอดห่วงโซ่อุปทาน” เพื่อรับฟังความเห็นต่อคุณสมบัติและการติดตั้งผนังยิปซัม (Gypsum Wall) จากแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วสำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง รวมทั้งโอกาสและความเป็นไปได้ในการจัดการแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วตั้งแต่ต้นทาง นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมระดมความคิด (Brainstorm) จากหลากหลายมุมมอง เพื่อสร้างความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทานของการนำแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ นำไปสู่การพัฒนาการสิ้นสุดการเป็นของเสีย (End of Waste) ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สู่ความยั่งยืน
โดยมี ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ดร.อุมา วิรัตน์สกุลชัย ผู้ประสานงานโครงการจากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO: United Nations Industrial Development Organization) ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและวิจัย ภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย กลุ่มโรงงานที่ใช้งานแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ กลุ่มผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มผู้ใช้งาน พร้อมด้วย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ปรึกษาดำเนินโครงการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสุรศักดิ์ 2 และ 3 ชั้น 11 โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ
#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม #saveอุตสาหกรรมไทย #saveสิ่งแวดล้อม #รับฟังความคิดเห็น #แบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ #ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว #ผลิตภัณฑ์ใหม่ #การสิ้นสุดการเป็นของเสีย #EndofWaste #เศรษฐกิจหมุนเวียน #CircularEconomy #ยิปซัม #ผนังยิปซัม #Gypsum #กากอุตสาหกรรม