You are currently viewing อธิบดีกรมโรงงานฯ ตรวจรับรายงานความก้าวหน้าโครงการนำร่องทดสอบการนำแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วกลับมาผลิตใหม่เป็นแผ่นยิปซัม

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 14.00 น. ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะทำงานด้านเทคนิคสำหรับส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ TWG (Technical Working Group) เป็นประธานการประชุมตรวจรับรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ Provision of services relative to end-of-waste management in Thailand focusing on Plaster Mold waste ในการดำเนินการนำร่องทดสอบการนำแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วกลับมาผลิตเป็นแผ่นยิปซัม สำหรับการใช้ในงานก่อสร้างและส่งเสริมการเอื้อประโยชน์ร่วมกันในภาคอุตสาหกรรม โดยมี คณะทำงานฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 503 ชั้น 5 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะทำงานฯ เป็นประธานการประชุม
ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะทำงานฯ เป็นประธานการประชุม

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาโครงสร้างคณะกรรมการผู้พิจารณาเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย โดยจะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับของเสีย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมดำเนินการ อีกทั้งร่วมพิจารณาข้อมูลสำหรับวิเคราะห์เส้นทางการไหลของแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วและศักยภาพการนำมาใช้ประโยชน์ โดยจากการศึกษาพบว่า การนำแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วมาทำผนังยิปซัมจะทำให้ช่วยลดการทิ้งลงในหลุมฝังกลบซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่า รวมถึงเป็นการลดการถลุงแร่ยิปซัมใหม่จากแหล่งธรรมชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการเปิดเปลือกดินทำเหมืองแร่ ทั้งด้านสภาพภูมิประเทศที่เดิมเคยเป็นที่ราบแล้วกลายเป็นกองที่มีเปลือกดิน ด้านเสียงรบกวนและสั่นสะเทือน ด้านคุณภาพอากาศจากการระเบิดบดย่อยแร่ ด้านคุณภาพน้ำบาดาลที่มีความกระด้างและปริมาณซัลเฟตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การนำยิปซัมรีไซเคิลมาใช้ในการผลิตผนังยิปซัมยังช่วยให้สมบัติทางกายภาพของวัสดุดียิ่งขึ้นอีกด้วย

พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้เตรียมกำหนดจัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญ (Expert Meeting) “การจัดทำเกณฑ์การสิ้นสุดการเป็นของเสียสำหรับแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว” เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทางเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาเกณฑ์การสิ้นสุดของเสียของแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วในการนำกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ผนังยิปซัม (Gypsum Wall) สำหรับงานก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2567

การประชุมตรวจรับรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ Provision of services relative to end-of-waste management in Thailand focusing on Plaster Mold waste
การประชุมตรวจรับรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ Provision of services relative to end-of-waste management in Thailand focusing on Plaster Mold waste

ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ดร.อุมา วิรัตน์สกุลชัย ผู้ประสานงานโครงการฯ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNIDO (United Nations Industrial Development Organization) นางสาววานิช สาวาโย ผู้อำนวยการส่วนของเสียอันตราย กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) นางดวงพร ขุนทอง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นายพิษณุ จารุพัฒนะสิริกุล กรรมการสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ ผศ.ดร.ศุภพัชรี รอดเดชา อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมด้วย ทีมนักวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรอ.
ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรอ.
ดร.อุมา วิรัตน์สกุลชัย ผู้ประสานงานโครงการฯ UNIDO
ดร.อุมา วิรัตน์สกุลชัย ผู้ประสานงานโครงการฯ UNIDO
ร่วมพิจารณาข้อมูลสำหรับวิเคราะห์เส้นทางการไหลของแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วและศักยภาพการนำมาใช้ประโยชน์
ร่วมพิจารณาข้อมูลสำหรับวิเคราะห์เส้นทางการไหลของแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วและศักยภาพการนำมาใช้ประโยชน์
ร่วมพิจารณาข้อมูลสำหรับวิเคราะห์เส้นทางการไหลของแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วและศักยภาพการนำมาใช้ประโยชน์
ร่วมพิจารณาข้อมูลสำหรับวิเคราะห์เส้นทางการไหลของแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วและศักยภาพการนำมาใช้ประโยชน์

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #กระทรวงอุตสาหกรรม #DIW #MIND #งานวิจัย #กากอุตสาหกรรม #waste #วัสดุหมุนเวียน #สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย #สอท #UNIDO #ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน #กรมควบคุมมลพิษ #การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย #มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #TWG #ปูนปลาสเตอร์ #แผ่นยิปซัม