You are currently viewing อธิบดีกรมโรงงานฯ ร่วมแลกเปลี่ยนและร่วมหาแนวทาง “การแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน
อธิบดีกรมโรงงานฯ ร่วมแลกเปลี่ยนและร่วมหาแนวทาง “การแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน

วันที่ 7 มิถุนายน 2567 เวลา 09.30 น. นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นวิทยากรนำเสนอนโยบายเพื่อสนับสนุนการจัดการของเสียและเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อน BCG Model ของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เป็นการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทิศทางและเป้าหมายการจัดการขยะอุตสาหกรรม รวมทั้งการใช้ประโยชน์ของเศษพลาสติก ขยะพลาสติกในภาคอุตสาหกรรม ในงานสัมมนาโครงการจัดการพลาสติกในมหาสมุทร ให้กลายเป็นโอกาสในเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Ocean Plastic Turned into an Opportunity in Circular Economy (OPTOCE) เพื่อแลกเปลี่ยนและร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน จัดโดย สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งนอร์เวย์ (Norwegian Foundation for Scientific and industrial Research: SINTEF) ร่วมกับ บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด โดยมี นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) Dr. Kare Helge Karstensen, Chief scientist, SINTEF, Norway นางสาวสุจินตนา วีระรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด ร่วมเป็นวิทยากร ร่วมด้วย นางจินดา เตชะศรินทร์ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม และผู้เข้าร่วมสัมมนา รวม 90 คน ณ โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ เทอร์มินอล 21

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นางจินดา เตชะศรินทร์ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน
นางจินดา เตชะศรินทร์ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน

โครงการ OPTOCE จัดตั้งโดยสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งนอร์เวย์ (SINTEF) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาเพื่อต่อสู้กับขยะและไมโครพลาสติกในทะเลของรัฐบาลนอร์เวย์ มุ่งศึกษาและหาแนวทางในการกำจัดขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ และลดการรั่วไหลของขยะพลาสติกลงสู่ทะเลและมหาสมุทร โดยมีความร่วมมือในการดำเนินโครงการวิจัยในหลายประเทศ รวมทั้ง 4 ชาติพันธมิตรในเอเชีย ได้แก่ จีน อินเดีย ไทย และเวียดนาม ศึกษาขยะพลาสติกหลากหลายชนิดที่ไม่สามารถรีไซเคิล หรือมีมูลค่าต่ำไม่คุ้มทุนในการนำไปรีไซเคิลในปริมาณมาก รวมถึงค้นหาโอกาสและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมซีเมนต์ในการบริหารจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทยและทั่วภูมิภาค เพื่อหาแนวทางกำจัดที่เหมาะสมและสามารถแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน

อธิบดีกรมโรงงานฯ ร่วมแลกเปลี่ยนและร่วมหาแนวทาง “การแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน
อธิบดีกรมโรงงานฯ ร่วมแลกเปลี่ยนและร่วมหาแนวทาง “การแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน
อธิบดีกรมโรงงานฯ ร่วมแลกเปลี่ยนและร่วมหาแนวทาง “การแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน
อธิบดีกรมโรงงานฯ ร่วมแลกเปลี่ยนและร่วมหาแนวทาง “การแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม # กรอ #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม #ระบบการจัดการขยะพลาสติก #Waste