You are currently viewing กรมโรงงานอุตสาหกรรม จับมือ กรมควบคุมมลพิษ และ กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าจัดการซากรถยนต์ ลดวิกฤตฝุ่น PM 2.5

วันที่ 7 กันยาน 2566 เวลา 13.30 น. นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และ นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองที่มาจากรถยนต์และการกำจัดซากรถยนต์สิ้นสภาพ ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นางจินดา เตชะศรินทร์ ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม นางนุชนาถ สุพรรณศรี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีการกำจัดและการจัดการกากอุตสาหกรรม นางสาวปานทอง ศรีคัฒนพรหม รักษาการนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย นางประภาพร ลือกิตติศัพท์ ผู้อำนวยการกลุ่มจัดการกากอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ นางสาวรัตติกาล ธรรมปัญญา ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการและการขนส่ง กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ร่วมด้วย ผู้บริหารกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ผู้แทนกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ผู้แทนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 กรมควบคุมมลพิษ พร้อมด้วย รศ.ดร.เกรียงไกร เตชกานนท์ นักศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการซากรถยนต์ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้แทนกรมอนามัย ผู้แทนกรมการปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meeting)

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

จากสถิติการจดทะเบียนรถยนต์สะสมทั่วประเทศ พ.ศ. 2565 มีจำนวนประมาณ 42-43 ล้านคัน โดยประเทศไทยมีการใช้งานรถยนต์เฉลี่ยเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี มีสาเหตุหลักมาจากรถยนต์ราคาแพงจึงมักจะซ่อมแซมให้ใช้งานนานที่สุด อีกทั้งมีอู่ซ่อมรถพร้อมบริการเป็นจำนวนมาก ทำให้ยืดอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานยาวนานและขาดการบำรุงรักษาตามมาตรฐานจะปล่อยมลพิษสูงกว่ารถยนต์ใหม่ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนี่งของปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า รถบรรทุกและรถปิคอัพที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป เป็นกลุ่มที่ปล่อยฝุ่น PM 2.5 มากที่สุด

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

การประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองที่มาจากรถยนต์ โดยแผนระยะสั้น (พ.ศ. 2566-2570) สำหรับรถบรรทุกและรถปิคอัพ ควรให้มีการตรวจสภาพประจำปี เพิ่มเป็น 2 ครั้ง/ปี เหมือนรถโดยสารสาธารณะ พร้อมทั้งเข้มงวดการตรวจสภาพรถยนต์ขนาดเล็กประจำปี นอกจากนี้ จะเตรียมมาตรการเพิ่มเติมในช่วงเดือนธันวาคม-เดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตฝุ่น PM 2.5 อาทิ การตั้งด่านตรวจวัดควันดำ หรือการห้ามรถที่ปล่อยควันดำเกินมาตรฐานเข้าพื้นที่ เป็นต้น ส่วนแผนระยะยาว (พ.ศ. 2576-2580) ได้ให้ทบทวนแนวทางเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 20 ปี ขึ้นไป รวมถึงสนับสนุนแนวคิดการใช้กฎหมายใหม่เพื่อรองรับการจัดการซากรถยนต์ ด้วยนำหลักการขยายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตให้ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตของสินค้าและบรรจุภัณฑ์มาปรับใช้ ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต ไปจนถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วให้ถูกต้องตามหลักการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Extended Producer Responsibility: EPR)

ร่วมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองที่มาจากรถยนต์
ร่วมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองที่มาจากรถยนต์
ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)
ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)
ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)
ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)
ผู้แทนกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ผู้แทนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ผู้แทนกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ผู้แทนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meeting)
ผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meeting)

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #MIND #กรมควบคุมมลพิษ #กรมการขนส่งทางบก #รถยนต์เก่า #ซากรถยนต์ #ฝุ่นละออง #กากอุตสาหกรรม #การจัดการกากอุตสาหกรรม