You are currently viewing กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ ยกระดับแก้ปัญหาการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม

วันที่ 4 กันยาน 2566 เวลา 10.30 น. นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และ นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม เพื่อร่วมหาแนวทางการจัดการกรณีลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม รวมทั้งกรณีปัญหาจากการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม ประเภท 101, 105 และ 106 โดยมี นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ร่วมด้วย นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นางจินดา เตชะศรินทร์ ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม นายสุนทร แก้วสว่าง ผู้อำนวยการกองกฎหมาย นายบวร สัตยาวุฒิพงศ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน นายประสม ดำรงพงษ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงาน นางสาวปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน นายเอกบุตร อุตมพงศ์ รักษาการนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ กองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน นางสาวนวพร สงวนหมู่ รักษาการนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ กองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน และนางสาวปานทอง ศรีคัฒนพรหม รักษาการนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย พร้อมด้วย ผู้บริหารกรมควบคุมมลพิษ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 202 ชั้น 2 อาคารกรมควบคุมมลพิษ

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

การประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้สรุปรายงานสถานการณ์ปัจจุบันของโรงงานอุตสาหกรรม ประเภท 101, 105 และ 106 รวมทั้งรายงานการดำเนินงานปรับปรุงกฎหมาย อาทิ การดำเนินการจัดทำรายงาน EIA ของโรงงานประเภท 105 ประกอบกิจการฝังกลบกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย และการปรับปรุง บัญชีรายชื่อ 5.2 ของเสียเคมีวัตถุ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2566 รวมทั้งกฎระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรม

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

ด้านการแก้ไขปัญหาการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม ที่ประชุมมีความเห็นให้เร่งรัดติดตามผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้องมาดำเนินคดี และทบทวนเพิ่มบทลงโทษกับผู้กระทำความผิด ทั้งทางแพ่งและอาญาให้รุนแรงขึ้นกว่าบทกำหนดลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยโรงงานเพื่อเพิ่มเติมรองรับการจัดตั้ง “กองทุนอุตสาหกรรมและหลักประกันความเสียหาย” เพื่อกำหนดการวางหลักประกันทางการเงินกับธนาคาร (Bank Guarantee) หรือการจัดทำกรมธรรม์คุ้มครองความเสียหายจากการปนเปื้อนมลพิษจากการประกอบกิจการโรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมควบคุมมลพิษได้วางแนวทางการบูรณาการความร่วมมือในอนาคต โดยเตรียมแผนการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการตรวจสอบบ่งชี้กากของเสียอุตสาหกรรม การรวบรวมข้อมูลหลักฐาน และการดำเนินคดี เป็นต้น

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ ยกระดับแก้ปัญหาการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม
กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ ยกระดับแก้ปัญหาการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม

อธิบดีกรมโรงงานฯ เน้นย้ำว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นพ้องอย่างยิ่งต่อนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ในการอนุญาตและกำกับดูแลโรงงานโดยต้องไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญต่อชุมชน ปัจจุบันมีเพียงกลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด แต่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ทำให้ภาพลักษณ์ของภาคอุตสาหกรรมเสียหาย ทั้งนี้ จะใช้ข้อกฎหมายทั้งหมดที่มีอยู่เป็นเครื่องมือ พร้อมส่งเสริมมาตรการ กลไก และการปฏิบัติร่วมกันกับทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
ร่วมหาแนวทางการจัดการกรณีลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม รวมทั้งกรณีปัญหาจากการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม ประเภท 101, 105 และ 106
ร่วมหาแนวทางการจัดการกรณีลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม รวมทั้งกรณีปัญหาจากการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม ประเภท 101, 105 และ 106

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม #กรมควบคุมมลพิษ #กองทุนอุตสาหกรรม #พระราชบัญญัติโรงงาน #พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย #โรงงาน101 #โรงงาน105 #โรงงาน106 #กากอุตสาหกรรม #ของเสียอันตราย #BankGuarantee #EIA