You are currently viewing กรมโรงงานฯ รุดตรวจคลังสินค้าศุลกากร กรณีนำเข้า นำผ่านวัตถุอันตราย “สารอะนิลีน” ไม่มีใบอนุญาต เตรียมเอาผิดตามกฎหมาย

🔸
📆เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวิสุทธิ์ ชุมคง และเจ้าหน้าที่กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย พร้อมกับเจ้าหน้าที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด(บช.ปส.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ในพื้นที่ และได้ประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ขอเข้าตรวจสอบ “สารอะนิลีน” ที่ได้ดำเนินการอายัดไว้ ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

เจ้าหน้าที่กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรมพร้อมกับเจ้าหน้าที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด(บช.ปส.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ขอเข้าตรวจสอบ “สารอะนิลีน” ที่ได้ดำเนินการอายัดไว้ ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

🔸🔸
⚙ตามที่ กรมโรงงานฯ ได้ประสาน บช.ปส. มีการนำเข้าสารอะนิลีน (Aniline) จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย และนำผ่านไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยขนส่งมาทางท่าเรือแหลมฉบัง โดยไม่มีเอกสารการอนุญาตขอนำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 “สารอะนิลีน (Aniline) จำนวนรวม 510,720 กิโลกรัม ซึ่งเป็นสารที่สามารถนำไปประกอบทางเคมีในการผลิตเฟนทานิล (Fantanyl) ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาเสพติดประเภท 2 ของไทย หรือเป็นยาประเภทที่ต้องมีใบอนุญาตใช้และจำหน่าย เฟนทานิลเป็นยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioid) หรือกลุ่มที่มีส่วนผสมของฝิ่น มีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดขั้นรุนแรง

ทีมกรมโรงงานฯ และตำรวจบข.ปส. เข้าพบนายสุรเดช ตรงศิริวิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง

🔸🔸🔸
🏭กรมโรงงานฯ ได้ตรวจสอบหาข้อเท็จจริงการยื่นขออนุญาตขอนำเข้า ขอนำผ่านโดยละเอียด พบว่า บริษัทดังกล่าวไม่มีการยื่นเรื่องขออนุญาตนำผ่านมากับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ก่อนที่สารอะนิลีนจะเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ตามกฎหมายของกรมโรงงานฯ ผู้นำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตรวจคลังสินค้าศุลกากร กรณีนำเข้า นำผ่านวัตถุอันตราย “สารอะนิลีน” ไม่มีใบอนุญาต

🔸🔸🔸🔸
ทั้งนี้ กรมศุลกากรได้ทำการอายัด สารอะนิลีน ไว้ก่อน โดยเป็นตามเงื่อนไขกรมศุลกากร คือ ของผ่านแดนตาม “ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว”(MOU) ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2542 กรณีที่สินค้าผ่านแดนตกค้าง ที่ไม่ได้นำออกไปนอกประเทศไทย ภายใน 90 วันนับแต่วันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ให้ถือว่าสินค้าผ่านแดนนั้นเป็นของตกค้าง เมื่อครบกำหนด บริษัทดังกล่าวฯ ไม่เข้ามาชี้แจงและยื่นเอกสารเพิ่มเติม ก็จะดำเนินการแจ้งความเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรอ. #DIW #กระทรวงอุตสาหกรรม #MIND #กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย #สำนักงานศุลกากรแหลมฉบัง #กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด #สารอะนิลีน